ประเภทของยาฆ่าหญ้า
ยาฆ่าหญ้า แบบจำแนกตามช่วงเวลาการใช้ ดังนี้
1.
สารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนปลูกหรือล้างแปลง
จัดเป็นสารเคมีที่ใช้พ่นก่อนการตรียมดิน
เพื่อฆ่าวัชพืชที่ขึ้นอยู่ก่อน แล้วจึงไถเตรียมดิน
หรือใช้พ่นฆ่าวัชพืชแทนการเตรียมดินแล้วปลูกพืชเลย สารกำจัดวัชพืชประเภทนี้ได้แก่
ไกลโฟเซท (Glyphosate),
พาราควอท หรือที่รู้จักกันดีในนาม กรัมม๊อกโซน (Gramoxone)
สรรพคุณ : เป็นยาดูดซึมเพื่อใช้ป้องกันการขึ้นของหญ้า
อาการข้างเคียงหรืออาการที่ไม่พึงประสงค์ : ยับยั้งการหายใจระดับเซลล์
(Cellular Respiration) ในเซลล์พืชและสัตว์ที่มีชื่อว่าไมโทคอนเดรีย
(Mitochondria)
2.
สารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอก ส่วนใหญ่เกษตรกรเรียกว่ายาคุมหญ้า
เป็นสารเคมีที่ใช้ฉีดพ่นหลังปลูกพืช และก่อนที่วัชพืชจะงอกในช่วงเวลาประมาณไม่เกิน
10 วัน
เป็นการฉีดพ่นลงไปในผิวดินโดยตรง สารเคมีพวกนี้จะเข้าไปทำลายวัชพืชทางส่วนของเมล็ด
ราก และยอดอ่อนใต้ดิน โดยต้องฉีดพ่นในสภาพที่ดินมีความชื้นเหมาะสม
สารกำจัดวัชพืชประเภทนี้ได้แก่ บิวทาคลอร์, เพรททิลาคลอร์, อ๊อกซาไดอะซอน
สรรพคุณ : ใช้กำจัดวัชพืชประเภทใบแคบและใบกว้าง
อาการข้างเคียงหรืออาการที่ไม่พึงประสงค์ : คลื่นไส้อาเจียน
วิงเวียนศรีษะ เป็นลม และลมหายใจอ่อน
3.
สารกำจัดวัชพืชประเภทหลังงอก ส่วนใหญ่เกษตรกรเรียกว่า
ยาฆ่าหญ้า เป็นสารเคมีที่ใช้ฉีดพ่นหลังจากวัชพืชงอกขึ้นมาแล้วในช่วงเวลาเกินกว่า 10 วันขึ้นไป
โดยพยายามฉีดพ่นให้สัมผัสส่วนของวัชพืชให้มากที่สุด สารกำจัดวัชพืชประเภทนี้ได้แก่
กลุ่มยา 2,4-ดีโซเดียมซอลท์
หรือที่รู้กันในชื่อ ยาช้างแดง, ยาโปรปานิล ฟิโนซาพรอบ-พี-เอทิล
สรรพคุณ : ใช้ฆ่าหญ้าเพื่อไม่ให้หญ้างอกเร็วเกินไป
อาการข้างเคียงหรืออาการที่ไม่พึงประสงค์ : เมื่อสารเคมีเหล่านี้
สัมผัสถูกบาดแผลจะทำลายชั้นเนื้อเยื่อแบบต่อเนื่องไม่หยุด และมีอาการปวดศีรษะ
เหงื่อออกมาก อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน ลมหายใจมีกลิ่น ปวดท้อง ท้องเสีย
เบื่ออาหาร ตาพร่ามัว พูดไม่ชัดกล้ามเนื้อกระตุก กั้นปัสสาวะไม่อยู่ ชักหมดสติ
และเสียชีวิตในที่สุดเนื่องจากหัวใจและระบบโลหิตล้มเหลว
ดังนั้นเกษตรกรจึงควรตระหนักถึงผลกระทบจากการใช้ยาฆ่ายาทุกชนิดและใช้อย่างระมัดระวัง
ใช้อย่างถูกวิธี
ยาฆ่าหญ้า แบบจำแนกตามลักษณะการทำลาย
1.
สารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดดูดซึม
• กลุ่มไกลโฟเซต เป็นสารเคมีกำจัดวัชพืชทำลายได้ทั้งชนิดใบกว้างและใบแคบ
แต่กำจัดได้ดีที่สุดกับชนิดใบแคบ ใช้กำจัดวัชพืชที่มีหัวอยู่ใต้ดิน เช่น หญ้าคา
แห้วหมู ไมยราบยักษ์ ใช้ฉีดพ่นทางใบแล้ววัชพืชจะดูดซึมเข้าไปทำลายส่วนต่างๆ
อย่างช้าๆ และเห็นผลในสัปดาห์ที่ 3 หากต้องการให้ได้ผลดีต้องฉีดพ่นวัชพืชที่มีใบ
4-8 ใบ
หรือต้นที่แก่เต็มที่ หากฉีดพ่นวัชพืชที่มีอายุน้อยมักจะไม่ได้ผล
ไกลโฟเสทมีผลตกค้างในดินน้อยมาก เนื่องจากถูกจุลินทรีย์ในดินเป็นตัวย่อยสลาย (ปัจจุบันสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในสหรัฐฯ
หรือ EPA
ออกคำแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่เกษตรกรรมที่ใช้ยากำจัดวัชพืชชนิดนี้เป็นเวลา
12
ชั่วโมงภายหลังการฉีดพ่น และในบางประเทศ
เช่น โปรตุเกส อิตาลี และนครแวนคูเวอร์ของแคนาดา
ได้ออกกฎห้ามใช้สารไกลโฟเซตในพื้นที่สวนสาธารณะต่าง ๆ
ขณะที่ทางการศรีลังกาห้ามใช้ไกลโฟเซตเมื่อปี 2015)
• กลุ่ม
2,4-ดีโซเดียมซอลท์
เป็นสารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดเลือกทำลาย ใช้ฉีดพ่นทางใบจะเลือกทำลายเฉพาะวัชพืช
ใบกว้าง และกก ผักตบชวา ขาเขียด เทียนนา กกขนาก กกทราย หนวดปลาดุก
การฉีดพ่นที่ได้ผลดีไม่ควรมีฝนตกนาน 4-6 ชั่วโมง กลุ่ม 2, 4-ดีโซเดียมซอลท์
สลายตัวในดินภายใน 1-4 สัปดาห์
2.
สารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดเผาไหม้
หรือชนิดสัมผัสตาย
• กลุ่มพาราควอต จัดอยู่ในชนิดเผาไหม้หรือสัมผัสตาย
เกษตรกรไทยนิยมใช้ในพืชไร่ เป็นยาเผาไหม้ออกฤทธิ์เร็วมาก
ทำให้วัชพืชแห้งเหี่ยวและตายได้ภายใน 2-3 ชั่วโมง
โดยไม่มีฤทธิ์ทำลายระบบรากของพืชประธาน ใช้ในไร่อ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา ไม่ว่าจะเป็นพืชใบกว้างหรือใบแคบก็ตาม
เป็นสารเคมีที่ออกฤทธิ์ทำลายได้เร็วมาก ดังนั้น
ขณะที่ฉีดพ่นควรระวังอย่าให้ละอองสารเคมีไปสัมผัสกับต้นพืชที่ปลูก
สารเคมีกำจัดวัชพืชกลุ่มนี้จะสลายตัวได้ 25-50 เปอร์เซ็นต์
เมื่อถูกแสงแดดจ้าภายในเวลา 3 สัปดาห์ นอกจากนี้
เมื่อฉีดพ่นลงดินจะถูกอนุภาคของดินจับสารเคมีพาราควอตได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์
จึงไม่สามารถทำลายวัชพืชได้เลย (ปัจจุบันมีการห้ามใช้พาราควอต
อย่างน้อย 53 ประเทศทั่วโลกที่ ซึ่งรวมถึงประเทศในสหภาพยุโรป
ที่ยกเลิกเมื่อปี 2007)