เทคนิคการขยายพันธุ์พืช

                    การขยายพันธุ์พืชที่สามารถทำได้ง่ายและสะดวก มากวิธีหนึ่งคือการเพาะเมล็ด จัดเป็นวิธีการขยายพันธุ์พืช แบบอาศัยเพศที่ต้องการขบวนการผสมเกสรระหว่าง ละอองเกสรเพศผู้ และไข่ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย เกิดการปฏิสนธิรวมตัวและพัฒนาต่อไปเป็นเมล็ด ถ้าเซลล์ สืบพันธุ์นั้นมาจากต้นที่มีลักษณะทางพันธุกรรมแบบเดียว กันหรือจากต้นเดียวกันเรียกว่า การผสมตัวเอง (self - pollination )  หรือจากต้นที่ต่างพันธุกรรมกันเรียกว่า การผสมข้าม (cross - pollination)

                           เมล็ดที่พัฒนาขึ้นมาจากไข่(ovule) นั้นจะประกอบ ด้วยส่วนต่างๆ ที่สำคัญคือ เปลือกหุ้มเมล็ด (seed coat) อยู่ด้านนอกของเมล็ดทำหน้าที่ป้องกันอันตรายให้กับ ส่วนที่อยู่ภายในเมล็ด จึงสามารถขนส่งสะดวกและเก็บ รักษาได้นานขึ้น ส่วนของอาหารสะสม (endosperm) เป็นเนื้อเยื่อที่เก็บอาหารไว้สำหรับใช้ในการงอกของ เมล็ด คัพภะ (embryo or embryonic plant) เป็นส่วน ที่เกิดขึ้นมาจากการปฏิสนธิพัฒนาเป็นลำต้น ราก ใบ ในพืชบางชนิดจะเก็บสะสมอาหารไว้ในส่วนของใบ เลี้ยงที่คัพภะนี้ เช่น ถั่วเหลือง แตงโม มะขาม ดาวเรือง เป็นต้น

                          เมล็ดทำหน้าที่ช่วยให้การกระจายพันธุ์พืชเกิด ได้อย่างกว้างขวางและ อาจคงสายพันธุ์เดิมไว้หรือกลายเป็นพันธุ์ใหม่ก็ได้ พันธุ์พืชใหม่ที่เป็นลูกผสม ระหว่างต้นแม่และต้นพ่อ ที่แตกต่างกัน (cultivar) จะเกิดขึ้นมาจากการผสม ข้ามกัน (cross pollination)ทำให้ได้ต้นใหม่ที่อาจจะไม่สามารถเกิดเมล็ดไว้สืบ พันธุ์ต่อไปได้หรือ เมล็ดที่เกิดขึ้นมีลักษณะทางพันธุกรรมที่ไม่เหมือนเดิม จึงต้องใช้วิธีการอื่นๆ ในการขยายพันธุ์ ดังนั้นการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดจึงมีโอกาสทำให้เกิด พันธุ์ใหม่และมีลักษณะ ที่ดีกว่าต้นพ่อแม่หรือด้อยลงก็ได้เช่นกัน

เทคนิคการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

 

 

    

       ในทางพืชสวนนั้นใช้การเพาะเมล็ดในการผลิตพืชผัก ไม้ดอกหลายชนิด เป็นวิธีที่เหมาะกับ การผลิตเป็นปริมาณมาก สามารถทำได้รวดเร็วและสะดวก ส่วนใหญ่จึงนิยมใช้กับพืชฤดูเดียว (annuals) พืชสองฤดู (biannials) หรือพืชหลายฤดูบางชนิด (perennials) โดยเฉพาะกับการผลิตเป็นต้นตอของไม้ผล สำหรับการเปลี่ยนพันธุ์ต่อไป การเพาะเมล็ดจะทำได้ผลสำเร็จนั้นต้อง ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างเช่น เมล็ดพันธุ์ที่ดีและสามารถงอกได้ การจัดการสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เหมาะสม เช่น ความชื้น อุณหภูมิ แสงและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการเพาะเมล็ด

พืชบางชนิดมีเปลือกหุ้มเมล็ดหนาและแข็งจำเป็นต้องทำให้ชั้น ของเปลือกบางหรืออ่อนตัวเพื่อช่วยให้ ดูดซึมน้ำได้สะดวกขึ้น ด้วยวิธีการต่างๆ ที่ปฏิบัติกับเมล็ดก่อนการเพาะเมล็ด  เช่น การตัดปลายเมล็ด การฝนหรือถูให้เปลือกบางลง (scarification) หรือ วิธีการแช่ด้วย สารเคมีเพื่อกระตุ้นการงอก เช่น โพแทสเซียมคลอไรด์ (KCl)

         เมล็ดของพืชเขตหนาวหลายชนิดมี การพักตัวของคัพภะจึงต้องผ่านกรรมวิธี แก้การพักตัว (stratification) โดยเก็บไว้ในที่มีอุณหภูมิต่ำประมาณ 3 องศาเซลเซียส และมีความชื้น เป็นเวลาประมาณ 8 สัปดาห์หรือนานกว่านี้ก่อนนำเมล็ดไปเพาะ ด้วยวิธีปกติทั่วไปจึงจะสามารถงอกได้ พืชบางชนิดต้องการความชื้นสลับกับความแห้งหรือต้องการแสง มากระตุ้นการงอกของเมล็ดก็ได้ขึ้นอยู่ กับชนิดของพืช จึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในเมล็ดพืชแต่ ละชนิดก่อนทำการเพาะเมล็ดจึงจะ ประสบความสำเร็จ

การเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ดีมีคุณภาพมาใช้ในการเพาะเมล็ดเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญด้วย

   เมล็ดที่ดีต้องมีคุณสมบัติตรงตามพันธุ์ เปอร์เซ็นต์ความงอกสูง มีความแข็งแรง สามารถงอกได้เร็วและผ่านการพักตัวของเมล็ดแล้ว เมล็ดที่สามารถงอกได้เร็วหลังจากการเพาะแล้ว  จะลดความเสี่ยงอันตรายจากสภาพแวดล้อมที่แปรปรวนหรือศัตรูธรรมชาติที่ทำลายเมล็ดหรือต้นกล้าในระยะแรกได้

   เมื่อต้นกล้าสามารถหาอาหารได้และเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจึงทำให้ผลผลิตสูงและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้อย่างพร้อมเพรียงกันอีกด้วย

ขั้นตอนในการเพาะเมล็ด
1.วิธีการเพาะเมล็ด
            

2.การงอกของเมล็ด                                                                                                           

 3.การย้ายต้นกล้า                                                                                                              

  4.การควบคุมการพักตัวของเมล็ด                                                                      

  5.สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการงอกของเมล็ด

 

การผลิตเมล็ดพันธุ์และการรับรองคุณภาพ 

 

 

 

นักปรับปรุงพันธุ์พืชได้มีความพยายามนำลักษณะที่ดีและต้องการพัฒนา ให้ตรงตามความต้องการให้มีอยู่ในพันธุ์พืชที่สร้างขึ้นมาใหม่ เช่น ให้ผลผลิตสูง ทนทานต่อศัตรูตามธรรมชาติ เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เมื่อพัฒนาจนได้พันธุ์ใหม่แล้ว จำเป็นต้องขยายพันธุ์นั้นๆ ให้มีปริมาณมากขึ้นสำหรับเกษตรกรนำไปปลูกต่อไป เมล็ดพันธุ์ที่ได้มาจากนักปรับปรุงพันธุ์พืชจึงต้องได้รับการรับรองคุณภาพของ มาตรฐานพันธุ์พืชให้ตรงตามพันธุ์และมีความงอกดี เมล็ดพันธุ์ที่เพิ่มปริมาณขึ้นมา ต้องมีคุณภาพดีด้วย ดังนั้นก่อนเมล็ดพันธุ์ที่นำมาขยายพันธุ์นั้นจึงผ่านขั้นตอนต่างๆ ของการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่แบ่งเป็นชั้นของเมล็ดพันธุ์

 

 

           การผลิตเมล็ดพันธุ์เป็นจำนวนมาก จะต้องได้รับการตรวจสอบ คุณภาพเมล็ดพันธุ์ อย่างทั่วถึง ในแต่ละขั้นตอนของการผลิตจึงต้อง นำตัวอย่างเมล็ดพันธุ์มาทดสอบเพื่อระบุมาตรฐานระหว่าง การผลิต ก่อนการนำไปปลูกหรือจำหน่ายต่อไป ตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ที่ได้มาจะถูกนำมาสุ่มตัวอย่าง (sampling) ให้มีปริมาณลดลง แต่เป็นตัวแทนของเมล็ดทั้งหมดได้จำนวน ดังกล่าว เรียกว่า working sample ซึ่งมีจำนวนไม่เท่ากันแล้วแต่ชนิดของพืช

 

การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ 

 

 

เมล็ดพันธุ์จะมีคุณภาพสูงสุดและสามารถงอก ได้ต้นกล้าที่แข็งแรงและเปอร์เซ็นต์สูงหลังจากการ เก็บเกี่ยวมาใหม่   ถ้าเมล็ดยังไม่ต้องการนำไปปลูกจึง ต้องเก็บรักษาไว้เพื่อให้ตรงตามฤดูกาลปลูกและความพร้อม ของเกษตรกรต่อไป จึงจำเป็นต้องเก็บไว้ให้คุณภาพ คงอยู่หรือลดลงน้อยที่สุด  เนื่องจากเมล็ดพันธุ์เป็นสิ่งมี ชีวิตที่มีการหายใจเกิดอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาของการเก็บรักษา
       ดังนั้นการนำเมล็ดไว้ในสภาพที่มีอุณหภูมิและ ความชื้นต่ำจึงเหมาะสมต่อการคงสภาพของเมล็ดพันธุ์ไว้ได้นานขึ้น   อย่างไรก็ตามระยะเวลาของการเก็บรักษา ต้องขึ้นอยู่กับชนิดของพืชด้วยว่าจะมีอายุอยู่ได้นานเพียงใดเช่นพืชบางชนิดมีอายุสั้นมาก (recalcitrant seed) เพียง 2-3 วัน หรือ2-3เดือนก็จะหมดสภาพแล้ว   พืชบางชนิดมีอายุได้ 2-3 ปี ถึง 15 ปี (orthodox seed) ได้แก่ ผัก ไม้ดอก ธัญพืช วิธีการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์จึงเป็นการคงสภาพความมี ชีวิตของเมล็ดพันธุ์ให้อยู่ได้นานที่สุด

 

 

 

 

 

 

#แนะนำสินค้าด้านล่างจ้า

Visitors: 55,905